สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ปี2551
ปีใหม่ปีนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขคิดปรารถนาสิ่งใดก็

สมดังใจปรารถนาค่ะ
ปรารถนาอย่างเดียวไม่ได้ค่ะต้องทำในสิ่งที่เราตั้งใจปรารถนาด้วยนะคะ การลงมือปฏิบัติค่อยๆทำอย่ารีบร้อนใจเย็นๆค่ะ ขอให้สุขภาพแข็งแรง การดูแลตัวเองอันดับแรกกินอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่นะคะพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ้าง และอย่าลืมดื่มน้ำมากๆด้วยค่ะ รู้จักผ่อนคลายตัวเองบ้างปีใหม่ปีนี้ก็อย่าลืมพาครอบครัว คนพิเศษไปเที่ยวกันด้วยนะคะ รับรองปีใหม่ปีนี้ Happy สุดๆๆค่ะ
ด้วยรัก..
จากใจจริงผู้ทำค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีการศึกษา

บทที่1 พัฒนาการเทคโนโลยี
........ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาTechno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึง การกระทำอย่างมีระบบ
-ภาษาละติน มาจากคำว่าTexere หมายถึง การสานหรือการสร้าง (เสาวณีย์,2528)
........มีผู้ให้คำนิยามของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา(Education Technology) ไว้ดังนี้วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร,2517)
ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเน้นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิดอุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2546) สรุปว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" มีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้ และการพัฒนาสื่อสารมวลชน อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ทบวงมหาวิทยาลัย
(ทบวงมหาวิทยาลัย,2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษาโดยทำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ
........"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การทำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
Carter V. Good (good,1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การทำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่าการยึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์Gagne' และ Briggs (gagne' ,1974) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ
..........ปัจจุบันนี้สมาคมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการสื่อสารได้ให้ ความหมายว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นทฤษฎีและการปฏิบัติทางการออกแบบและพัฒนาการใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(Design)การพัฒนา(Development) การใช้(Utilization) การจัดการ(Management) และการประเมิน(Evalution) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฎีและปฏิบัติ ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นการประยุกต์เอาแนวคิด ความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษานั่นเองเอกสารอ้างอิงภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน. ปี 2546

บทที่ 2 วิธีระบบกับเทคโนโลยีการเรียนการสอน
........ตอนที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 ชาร์ล ดาวิน (Charles Dawin) ได้คิดค้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยอาศัยวิธีอนุมาน-อุปมาน ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดกระบวนการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)หลักการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต (2538)) กล่าวว่าขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
1. ตั้งปัญหาหรือกำหนดขอบเขตของปัญหา
2. กำหนดสมมติฐาน เป็นการคาดเดาอย่างมีหลักการณ์ว่าผลของปัญหานั้นจะเป็นอย่างไร มีคำตอบอย่างไร โดยการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคาดเดา
3. เก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้เป็นการหาคำตอบของปัญหานั้นว่ามีคำตอบอย่างไร
4. วิเคราะห์ข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือได้ผลการทดลองมาแล้ว
5. สรุปผล
ในขั้นนี้เป็นการสรุปผลออกมาว่าคำตอบของปัญหานั้นเป็นอย่างไรประโยชน์ของวิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทำให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหานั้นอย่างชัดเจนและถูกต้อง
2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้ที่ใช้มั่นใจในคำตอบที่ตนเองได้ค้นพบ
3. ส่งเสริมวิถีทางประชาธิปไตย เป็นคนมีเหตุผล
4. ส่งเสริมให้ทุกคนยอมรับในเหตุในผลที่เกิดขึ้นตอนที่ 2
........ความหมายของระบบระบบ (system) หมายถึง โครงสร้างหรือองค์ประกอบรวมทั้งหมดอย่างมีระบบ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในของส่วนประกอบต่างๆ แต่ละส่วนและต่อส่วนรวมทั้งหมดของระบบอย่างชัดเจน(silvern)
........ระบบ (system) คือผลรวมขององค์ประกอบย่อยๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าที่บางอย่าง เช่น ร่างกายมนุษย์ ฯลฯ (Robbins 1983:9)
........ระบบ (system) คือส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน อาจจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ร่างการมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยระบบหายใจ ฯลฯ โดยแต่ละระบบต่างทำงานแล้วมามีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้(กิดานันท์ มลิทอง 1983:74)
กล่าวโดยสรุประบบคือ การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
........องค์ประกอบของระบบภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
1. ข้อมูล เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป็นการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อแก้ปัญหานั้น
2. กระบวนการเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนสิ้นสุดลง
ประโยชน์ของวิธีระบบ
1. ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
2. ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ทุกขั้น
3. ผู้ตรวจสอบสามารถติดตามได้ง่าย
4. ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
6. ได้สิ่งเร้าปัญญาที่ดีที่สุด
7. ทำให้การทำงานบรรลุผลได้ง่าย
(เอกสารอ้างอิงภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน. ปี 2546)

ไม่มีความคิดเห็น: